คำถามเกี่ยวกับยา
โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
เรื่อง : เมทาโดน (Methadone)
- ใช้บำบัดรักษาอาการปวดเรื้อรัง
- ใช้บำบัดอาการในผู้ที่ติดยาเสพติด
อุจจาระมีสีดำ มีเลือดออกปนมากับอุจจาระและปัสสาวะ การมองเห็นภาพผิดปกติ การเห็นสีฟ้าและสีเหลืองเปลี่ยนไป เจ็บหน้าอก สับสน ชัก ไอ ปัสสาวะน้อย วิงเวียน เป็นลม ปากแห้ง อ่อนเพลีย หัวใจเต้นผิดปกติ ผื่นคัน เหงื่อออกมาก กระหายน้ำบ่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปาก-นิ้ว-ผิวหนังซีด น้ำหนักเพิ่ม ท้องผูก ปวดเกร็งในท่อทางเดินน้ำดี ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นช้าลง เมื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะพบว่าผิดปกติ โปรตีนในเลือดสูง เกิดการกดการหายใจ (หายใจเบา/ตื้น อัตราการหายใจลดลง) และเกิดภาวะขาดประจำเดือน เป็นต้น
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตต่ำ ผู้ป่วยโรคหืด ผู้ป่วยโรคลำไส้อุดตัน ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูง
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่เคยมีประวัติหรือได้รับบาดเจ็บในบริเวณศีรษะ ผู้ป่วยโรคไตหรือโรคตับ ผู้ที่มีอารมณ์แปรปรวน ผู้ที่มีภาวะตับอ่อนอักเสบ
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยภาวะปัสสาวะขัด โรคต่อมลูกหมากโต
- ไม่ควรใช้ยากับสตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตรและเด็ก
- การใช้ยาเมทาโดนร่วมกับยาต้านไวรัสเอชไอวีบางตัว เช่น Ritonavir เป็นเหตุให้ประสิทธิภาพในการแก้ปวดของเมทาโดนลดลง หากต้องใช้ยาทั้งคู่ร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยาเมทาโดนร่วมกับยาแก้ปวดเช่น Tramadol จะก่อให้เกิดความเสี่ยงของอาการชักร่วมกับมีการหายใจที่ผิดปกติ หากไม่มีความจำเป็นใดๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทั้ง 2 ตัวร่วมกัน
- การใช้ยาเมทาโดนร่วมกับยาปฏิชีวนะบางตัวเช่น Azithromycin สามารถเพิ่มความเสี่ยงของอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ จึงควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยาเมทาโดนร่วมกับยาขยายหลอดลมเช่น Turbutaline อาจเป็นเหตุให้หัวใจของผู้ป่วยมีการเต้นผิดจังหวะ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทั้ง 2 ตัวร่วมกัน
- ห้ามใช้ยาเมทาโดนร่วมกับยาที่เพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้เช่น Cisapride ด้วยการใช้ร่วมกันสามารถกระตุ้นให้หัวใจทำงานผิดปกติจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยาได้